***บทความนี้เขียนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆที่ใฝ่ฝันอยากเข้าศึกษาต่อในสาขาออกแบบต่างๆ


มิว ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ                 

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2558)

ตอนแรกเสิร์ชกูเกิ้ลละเจอ สอนในเกษตรก็ใกล้ดี เลยลองไปเรียน
(ตอนนี้ย้ายมาอยู่สี่แยกเกษตรแล้วนะ)


     ตื่นเต้นนน ตอนนั้นลงคอร์สอินทีเรีย วันแรกที่ไปเรียนเหลาอีอีไม่เป็น ไม่เคยใช้กระดาน ไม่เคยฉีกกระดาษวาดเขียนออกจากสมุด แต่สนุกดี พี่ๆช่วย 555 ตอนนั้นพี่ที่มาสอนมีเยอะมาก ครึกครื้น

     เพราะชอบออกแบบ อยากลองออกแบบอะไรเอง คิดว่ามันน่าสนุกดี ตอนแรกลองเรียนอินทีเรีย รู้สึกว่าคิดไม่ออก ชอบนะแต่ไม่ถนัดอะไรแนวนี้ เลยเปลี่ยนไปลองเรียนสถาปัตย์ ก็โอเคนะรู้สึกชอบมากกว่า เคยได้ลองออกแบบผลิตภัณฑ์ที่โรงเรียน ก็ชอบนะแต่ชอบดูมากกว่าทำเอง เคยลองทำโปสเตอร์หรือพวกสื่อนำเสนอ ไม่ชอบเลย ไม่อยากทำ มันเป็นอะไรที่รู้ได้เองเวลาเจอ ว่าชอบหรือไม่ชอบ อยากทำเองหรือแค่อยากดู พอมาคิดว่าอันไหนอยากทำเองมากที่สุดก็คงเป็นบ้าน อาคาร อะไรพวกนี้ ก็เลยมาจบที่สถาปัตย์หลัก 

     รู้สึกว่า.... พี่ๆหายไปไหนกัน 55555 จำได้ว่าเมื่อก่อนมีเยอะมากๆ
พี่ๆใจดีมาก ใจเย็นมากและตั้งใจสอนมาก จำได้ว่าเคยนั่งเพลิน อยู่จนมืดจนเหลือเราเรียนอยู่คนเดียว พี่ๆก็ไม่พูดอะไรซักคำ ให้เรานั่งทำต่อ /มิวขอโทษ 5555
ตอนเรียนเป็นอารมณ์แบบตั้งใจทำเพราะอยากทำได้ อยากทำตามที่พี่สอนได้ ไม่ต้องกดดันไม่ต้องเครียดก็ตั้งใจ
พี่ที่สอนมาจากหลายที่หลายสาขามาก เกษตร ลาดกระบัง ธัญบุรี เชียงใหม่ พระนครเหนือ จุฬา ทั้งสถ. สน. ไอดี มาหมดดด แล้วทุกคนก็ช่วยกันสอน แต่ละคนก็มีวิธีกับประสบการณ์ต่างกัน คือหลากหลายมาก 5555

     แรงบันดาลใจ ไม่รู้อ่ะ แค่อยากลองดู
รู้จักคำว่าสถาปัตย์ครั้งแรกตอนป.5 แม่ถามว่าชอบเรียนไร อยากเป็นไร บอกแม่ว่าชอบศิลปะกับเลข แม่เลยถามว่าลองเรียนสถาปัตย์มั้ย ไม่รู้ทำไมศิลปะกับเลขถึงรวมกัน
เป็นสถาปัตย์
แต่ก็เออออไป แล้วตั้งแต่นั้นก็ลองคิดๆดูว่าสถาปัตย์เป็นยังไง น่าเรียนมั้ย แล้วก็รู้สึกชอบ 

เคยอยากเรียนเพียวแมทช์ แบบคณะวิทยาศาสตร์สาขาคณิตศาสตร์ เพราะชอบเลขมากมากมาก แต่ถามว่าให้เลือกระหว่างคิดเลขต่อไปอีกทั้งชีวิตกับงานแนวออกแบบ ขอออกแบบดีกว่า เพราะแค่ทำเลขติดกัน4ชม.ก็เริ่มเดินเซแล้ว 55555
ตอนก่อนเอนท์ ไปเจอหนังสือ"สถาปนิกนักจัดฝัน" ของเกี๊ยง เกียรติศักดิ์ (ที่อยู่วงเฉลียง) เป็นเกี่ยวกับชีวิตเค้าที่เป็นสถาปนิก(และนักร้องด้วย แต่อาชีพหลักคือสถาปนิก) ตั้งแต่เด็กจนถึงการทำงานในวงการสถาปนิก อ่านแล้วชอบ รู้สึกอยากทำ รู้สึกว่าต้องไปถึงจุดนั้นให้ได้ ก็เป็นอีกหนึ่งแรงฮึดก่อนสอบ ช่วยได้เยอะทีเดียว

     ชอบตู้คอนเทนเนอร์ มันเท่ มันดี มันมีประโยชน์ 555555
ชอบอะไรที่ใช้ประโยชน์ได้เยอะ ไม่ต้องสวยมาก แต่ใช้งานได้ แก้ปัญหาได้ ตอบโจทย์ความจำเป็น/ความต้องการ ไม่งั้นก็ไม่รู้จะทำไปทำไมถ้าไม่มีประโยชน์
แล้วก็ชอบทุกบ้านและทุกเมืองในการ์ตูนของสตูดิโอจิบลิ

     วิชาการ อย่าทิ้งเกรดโรงเรียน มันต้องเอาไปใช้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ถ้าเกรดดีก็มีทั้งโควตาเรียนดี มีสิทธิ์สอบหลายรอบ(รอบเรียนดี รอบปกติ) มีความสนใจจากกรรมการสัมภาษณ์ และเอาไว้เผื่อแอดมิชชั่น คือยังไงก็ต้องได้ใช้ เกรดมากขึ้นแค่.01ก็นำหน้าไปอีกหลายคนแล้ว

     ฟิสิกส์ เลข อังกฤษ สามวิชานี้คงจำเป็นสุดในการสอบ ทั้ง7วิชาและรับตรงอีกหลายๆที่ ส่วนเคมี ชีวะ เท่าที่รู้มาไม่ค่อยมีคนเรียนตั้งแต่ม.4แล้ว (ถามจากเพื่อนที่อยากเข้าสถาปัตย์หลายๆคน) ((เป็นแค่คำแนะนำ อย่าลืมรักษาเกรดที่โรงเรียนด้วย))

     
     PAT4 กับรับตรงที่ต้องไปสอบของคณะ ก็หาข้อสอบเก่ามาทำ ทำเยอะรู้เยอะพลาดน้อย พยายามจับเวลาด้วย อย่างรับตรงม.เชียงใหม่ เจอวิชาการไปก็อึ้ง เจอข้อสอบเข้าไปยิ่งอึ้ง เจอเวลาเข้าไปนี่อึ้งหนักเลย ต้องเลือกข้อทำและรีบทำมาก


     ใครสอบตรงก็คงต้องทำพอร์ตแบบจริงจังมากหน่อย เพราะบางที่ใช้พอร์ตคัดคนออกไปเยอะมาก อย่างโควตาเรียนดีสจล. รอบแรกคัดจากพอร์ต รอบสองคัดจากเวิร์คช็อป
จำได้ว่าตอนม.6เทอมปลายคือปั่นพอร์ตทุกเวลาว่าง เพราะทำไม่ทัน รู้ตัวช้าไป สอบตรงมันมีหลายที่ แล้วงานพอร์ตก็ต้องเป็นงานดี ไม่ใช่งานติว เพราะฉะนั้นถ้ายิ่งทำงานเก็บไว้มากก็ยิ่งมีงานดีๆใส่พอร์ตมาก

     ถ้าใครอยากลาเรียนไปเที่ยว อยากไปเจอที่ใหม่ๆ อยากเจอเพื่อนกลุ่มใหม่ๆที่มีสไตล์คนละแบบกับคนที่ติวมากับเรา แนะนำให้ไปสอบตรงหลายๆที่ สอบตรงที่แรกปีเราคือโควตาเรียนดีพระนครเหนือ ต้องเอาพอร์ตไปยื่นด้วย แล้วก็สอบข้อสอบเค้าด้วย1ข้อ ให้วาดรูป เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นพอร์ตคนอื่น เห็นแล้วก็อื้อหืออออ สตั้นท์ไป3วิ แล้วก็เกิดความรู้สึกกดดันเพิ่มขึ้น99% สอบตรงครั้งต่อๆมาก็เกิดความรู้สึกแบบนี้อีกเรื่อยๆ เป็นการกระตุ้นที่ดีสำหรับคนชิวๆ มีบ้างที่เห็นงานคนอื่นแล้วท้อ รู้สึกว่าถ้ามีคนเก่งมากขนาดนี้แล้วเราจะติดได้ไงวะ.... แต่ก็นั่นแหละ กระตุ้นๆๆๆ



ขอขอบคุณบทความดีๆจาก   
มิว ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ 
น้องๆคนไหนสงสัยตรงไหน เข้าจุฬาต้องเตรียมตัวยังไง?
สอบถาม คอมเม้นได้เลยจ้า 

แล้วพี่จะมาตอบทุกข้อสงสัย ;)